การพูด…บุคลิกที่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญ…..

145970597

การพัฒนาบุคลิกภาพและการวางตนให้เหมาะสมกับการทำงาน

1. การพัฒนาร่างกาย สุขภาพ

–  การรักษาความสะอาดร่างกาย

–  ผิวหนัง  หรือตัวแห้งแตกควรทาครีมเป็นการบำรุงผิว

–  เล็บมือ มือ ต้องล้างให้สะอาดอยู่เสมออย่าให้เล็บยาวหรือมีขี้เล็บดำ

–  หน้าตา  ควรรักษาความสะอาด อย่าให้มอมแมม กร้าน หน้ามันเยิ้มหรือมีขี้ตา

–  ผม ควรดูแลให้สะอาด ตัด สระ เซท ให้เข้ารูปทรง

–  ดูแลสุขภาพ ร่างกายให้ปราศจากโรคภัย

–  หัดเล่นกีฬา  ออกกำลังกายเสมอ

–  นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

2. การพัฒนาการแต่งกาย เสื้อผ้า อาภรณ์

–  การแต่งกายทั้งสีและแบบสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ

–  เสื้อผ้าที่ตัดเย็บจะมีความประณีตเรียบร้อยเหมาะสมกับรูปร่าง

–  ความสะอาดของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้กับเสื้อผ้าที่สวมใส่

–  ความประหยัด หมายถึง การใช้เสื้อผ้าที่มีราคาประหยัด แต่สามารถทำให้ผู้สวมใส่ดูดี

 

บัญญัติ  10  ประการแห่งแฟชั่นชุดทำงาน

1.  ไม่จำเป็นต้องแต่งการตาม Fashion Trend ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับบุคลากรขององค์กรระดับวิชาชีพ

2.  ควรเอาใจใส่พิถีพิถันในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของเครื่องแต่งกาย

3.   พยายามแต่งกายให้ดูเรียบ ไม่หวือหวามากจนเกินไปเสมอ

4.   เนื้อผ้า วัสดุของเครื่องแต่งกายควรประดิษฐ์จากเส้นใยธรรมชาติให้มากๆ

5.   ควรแต่งการโดยประยุกต์ Fashion Trend ให้เหมาะและลงตัวกับ Style ตลอดจนปริบทในการทำงานของตนเอง

6.   ควรศึกษา พิจารณาในการเลือกเสื้อผ้าชุดทำงานอย่างพิถีพิถัน

7.   อย่าแต่งตัวให้ดู “มาก” จนเกินไป

8.   ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้า เบา บางใส Sheer

9.    ซื้อเครื่องแต่งกายด้วยเหตุผลและความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน

10.   ผ้าฝ้าย หรือ Wool ประเภท Cashmere น่าจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ

 

ข้อควรยกเว้นในการแต่งกายชุดทำงานแบบลำลอง

1.  รองเท้าแตะ

2.  เสื้อยืดคอกลม

3.  เสื้อผ้าอันมีขนาดไม่พอเหมาะพอดีกับรูปร่าง

4.  การเปลือยเนื้อหนังบริเวณที่ปกติควรปกปิด

5.  กางเกงขาสั้นหรือกางเกงเดนิมยีนส์ที่ตัดขาให้สั้น

6.  เสื้อผ้าเอร์ซี่ไนลอนสำหรับนักกีฬา

7.  คอเสื้อเชิ้ตที่เปิดโดยไม่กลัดกระดุมเม็ดบนสุดทั้งๆที่มีเนคไทผูกอยู่อย่างหลวมๆ

8.  เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่มีรอยขาดลุ่ยหรือขายเป็นรูโหว่และแลดูสกปรก

9.  เสื้อผ้าที่มีลวดลายและสีสันฉูดฉาดมากๆ

10. เครื่องประดับ เพชรพลอย ทองคำ ฯลฯ ที่นำมาใช้พร้อมกันหลายๆ ชิ้น

 

3.  มรรยาทในการสื่อสาร เช่นวัจนภาษาและอวัจนภาษา

มรรยาทในวัจนภาษา

1. ความชัดเจนและถูกต้อง เช่นการใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย การเขียน การออกเสียงคำ การเรียบเรียงประโยค

2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษาเช่น

–  ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร  เหมาะกับเวลาและสถานที่  โอกาส  และบุคคล

–  ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน  เช่น  งานประชาสัมพันธ์  งานโฆษณา  งานประชุม  ฯลฯ

–  ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสื่อ  ต้องรู้จักความต่างของสื่อและความต่างของภาษาที่ใช้กับแต่ละสื่อ ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร

มรรยาทในอวัจนภาษา

อวัจนภาษาคือบุคลิกท่าทาง การแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้ส่งสาร การใช้วัตถุสิ่งของเครื่องประดับ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ น้ำเสียง การเน้นเสียง จังหวะของการพูดและการหยุดพูด และยังรวมตลอดไปถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการแปลความหมายของมนุษย์ เช่น ระยะห่างที่กำหนดไว้สำหรับคนแปลกหน้า หรือคนใกล้ชิด การเลือกใช้เสื้อผ้า การเลือกสีสำหรับของใช้หรือ เครื่องตกแต่ง การมาสาย การตรงต่อเวลา ฯลฯ

 

4. มรรยาทอันเนื่องมาจากการเคารพกฎ ระเบียบ และวัฒนธรรมองค์กร

1.  การแต่งกายแต่งกายต้องให้เหมาะสม

2.   ระบบอวุโสการรู้จักเด็ก  รู้จักผู้ใหญ่  ให้เกียรติให้ความเคารพต่อผู้มีอาวุโสกว่า ไม่ตีตนเสมอท่าน

3.   ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

4.   การรักษาเวลาและรู้จักบริบทเกี่ยวกับเวลา

5.   การให้เกียรติสถานที่และรู้จักปริบทเกี่ยวกับสถานที่

6.   ธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมองค์กรโดยทั่วไป และเฉพาะแห่ง

 

ผลที่ได้รับจากการอบรม

สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม มาพัฒนาบุคลิกภาพ มรรยาทของตนให้ดีขึ้น ทั้งเรื่องร่างกาย สุขภาพ การแต่งกาย การใช้ภาษา การสื่อสาร รวมถึงการวางตัวให้เหมาะสมกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้มาติดต่อและขอรับบริการ